สถิติ
เปิดเมื่อ7/06/2012
อัพเดท23/09/2012
ผู้เข้าชม5015
แสดงหน้า5772
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทที่ 2 คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุระกิจ

อ่าน 724 | ตอบ 4
บทที่2 เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณลักษณะของธุรกิจ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.บอกคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
2.บอกคุณสมบัติ อุดมการณ์ กลยุทธ์ ของผู้ประกอบการธุรกิจได้
3.มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบการธุรกิจ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.บอกบุคลิกภาพและคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้
2.มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ อุดมการณ์ กลยุทธ์ ของผู้ประกอบการธุรกิจได้
3.มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบการธุรกิจ
4.นักเรียนสามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับบุคลิกภาพและคุณลักษณะของนักธุรกิจ และคุณสมบัติ อุดมการณ์ กลยุทธ์ของผู้ประกอบธุรกิจได้


 

คุณลักษณะของนักธุรกิจ

 
            คุณลักษณะของนักธุรกิจหรือบุคลิกภาพของนักธุรกิจ

หมายถึง ลักษณะ ท่าทาง หน้าตา การแต่งกาย การวางตัว ความเฉลียวฉลาด

และไหวพริบในการดำเนินกิจการของนักธุรกิจ 

 


นักธุระกิจควรมีคุณสมบัติดังนี้

 

 1. มีการแต่งกายที่สุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับเวลาและโอกาส

           
2. มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
           
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล

โดยไม่หวั่นกลัวต่อการประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการ
           
4. เป็นผู้มีไหวพริบดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้

โดยมีความเสียหายน้อยที่สุด และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา
           
5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี เพื่ออำนวยประโยชน์ในด้านการสื่อสารและติดต่อค้าขาย
           
6. เป็นผู้มองการณ์ไกล หมั่นศึกษาและหาประสบการณ์

เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมอยู่เสมอ
          
7. มีความอดทน มุมานะในการทำงาน และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า

ที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้
          
8. มีความซื่อสัตย์ในการให้บริการ หรือผลิตสินค้าให้อยู่ในมาตรฐานที่ตั้งไว้

ไม่ปลอมแปลงปลอมปน หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไม่ดี

ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการเพื่อหวังผลประโยชน์
           
9. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า พนักงานในองค์กร และสิ่งแวดล้อม

ตลอดจนมีความเมตตากรุณา การต้อนรับยินดี และรู้จักการเสียสละ

โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
                       
9.1 มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการ

ของลูกค้าและคู่ค้า ยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

โดยเห็นแก่ความถูกต้องยุติธรรมเป็นสำคัญ
                       
9.2 ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

อย่างเคร่งครัด โดยลดการเอารัดเอาเปรียบคนงานและผู้บริโภค

จ่ายค่าแรงงาน และสวัสดิการในการบริโภคตามที่กฎหมายกำหนด

                       
9.3 สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง เช่น งานก่อสร้าง งานการเกษตร และงานให้

บริการต่าง ๆ แม้ว่างานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก แต่ก็เป็น

การช่วยสังคมให้มีอัตราการว่างงานน้อยลง
                      
  9.4 กำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสม ไม่ควรกำหนดราคาสูงไปเพื่อ

หวังผลกำไรหรือไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ
                    
    9.5 ป้องกันมลภาวะเป็นพิษทางด้านน้ำ อากาศและเสียงจากธุรกิจ

อุตสาหกรรม โดยมีระบบการกำจัดหรือควบคุมให้ถูกต้องและเหมาะสม
                       
9.6 ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐและเอกชนตาม

สมควรซึ่งทำได้โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ฝึกงานแก่นักเรียนนักศึกษา

หรือเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิไปบรรยายให้นักศึกษาฟังในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น

                   
9.7 ให้ความร่วมมือในด้านสุขภาพอนามัย ทั้งของพนักงานในสังกัดและบุคคลทั่ว

ไปตามโอกาสอันสมควร ตลอดจนสนับสนุนด้านสันทนาการและกิจกรรมต่าง ๆ

ของสังคม เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือชาวบ้าน กิจกรรมการกุศล

เป็นต้น
 
อุดมการณ์ซึ่งนักธุรกิจพึงมี ได้แก่
           
1. หมั่นประกอบการดี และประพฤติตนเป็นคนดี
          
2. มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับประโยชน์ของคนทั่วไป
           
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
          
4. ดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและยึดถือปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมการจัดการธุรกิจ

แห่งประเทศไทย
          
5. ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุ

ประสงค์ของกิจการ โดยคำนึงถึงข้อปฏิบัติของการจัดการที่ดี
           
6. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติต่อบุคคลอื่น ต้องตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเสมอภาค

ของกลุ่มและบุคคล
 
กลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจ
           
การประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตาม อยู่ในสภาวการณ์ที่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น เพราะอาจ

ประสบกับความล้มเหลวได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม

เพื่อรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมีแนวทางต่อไปนี้คือ
           
1. รู้ศักยภาพของตนเอง การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น

ผู้ประกอบการควรจะต้องรู้ระดับความสามารถของตนเอง

ทั้งในเรื่องทักษะและความชำนาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การบัญชี

การตลาด และการขาย รวมถึงการบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นพนักงานในองค์กร

ตลอดจนสำรวจข้อดีและข้อเสียของตนเอง

เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
           
2. รู้ตลาดสินค้าหรือบริการและลูกค้า
การมีแผนการตลาดที่ดีเป็นปัจจัยนำไป

สู่ความสำเร็จ ดังนั้นการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดสินค้าหรือบริการและลูกค้าของตน

เอง จะทำให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจถึงสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องแนวโน้ม

ความต้องการสินค้าหรือบริการ ปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการ โอกาสใน

การเข้าสู่ตลาด การเลือกทำเลที่ตั้งและกลุ่มเป้าหมาย วิธีขายสินค้า การกำหนด

ราคาสินค้าและบริการ ตลอดจนวิธีการส่งเสริมการขาย เพื่อให้เกิดผลดีต่อกิจการ

และสามารถสนองตอบตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
           
3. รู้สภาพการแข่งขันและคู่แข่ง ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักคู่แข่งทางการค้า ซึ่ง

หมายถึงผู้ที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับเรา ทั้งในด้านทำเลที่ตั้ง

ของกิจการ รวมถึงจุดเด่นของสินค้าและบริการนั้น ๆ เพื่อที่จะได้นำมาเป็นข้อมูล

ในการพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้เป็นที่นิยมของลูกค้ามากกว่า

          
4. รู้นโยบายส่งเสริมจาภภาครัฐและเอกชน โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่ง

ให้การส่งเสริมการค้าและการลงทุน หรือหน่วยงานที่ให้บริการเพื่อสนับสนุนธุรกิจ

ต่าง ๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน บรรษัทเงินทุน

หรือธนาคาร เพื่อที่จะได้ทราบว่าในช่วงระยะเวลานั้น ๆ หน่วยงานใดสนับสนุนให้

ประกอบธุรกิจประเภทใดบ้าง จึงจะสามารถผลิตสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความ

ต้องการได้
          
  5. รู้แนวทางการวางแผนการเงินในระยะยาว เพื่อป้องกันความผิดพลาด

ในการดำเนินธุรกิจโดยจะต้องวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการประกอบการ มีเงิน

สำรองสำหรับการพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า และใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการ

เงินที่คาดไม่ถึง ตลอดจนสามารถรับภาระในการกู้ยืมเงินได้โดยไม่เดือดร้อน
          
6. รู้วิธีการทำบัญชี เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับตรวจสอบค่าใช้จ่ายในกิจการ

อันได้แก่รายรับ รายจ่าย ภาษี กำไร และขาดทุน ซึ่งจะนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ

รายได้ของปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาว่าผลการบริหารงานและเป้าหมายด้านความ

สำเร็จแตกต่างกันอย่างไร หากผู้ประกอบการมีความสามารถในการทำบัญชีก็จะ

ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ และสามารถวางแผนการ

เติบโตของธุรกิจได้ในอนาคตได้
           
7. รู้วิธีบริหารงานให้มีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ โดยใช้ทักษะในด้าน

ความเป็นผู้นำที่ดี สามารถควบคุมและจูงใจให้ทีมงานทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย

มีความยืดหยุ่นในการทานสามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส และพร้อมรับมือกับ

สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
           
8. รู้วิธีขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพราะคุณภาพของสินค้าและบริการ

เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของกิจการ ถ้าสินค้าหรือบริการไม่เป็นที่พอใจของ

ลูกค้า ลูกค้าก็จะไม่มาซื้อสินค้าอีก หรืออาจนำไปบอกต่อทำให้ธุรกิจเกิดความ

เสียหาย ดังนั้นจึงควรพัฒนาและปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงตามความต้อง

การของลูกค้าหรือผู้บริโภคอยู่เสมอ
          
  9. รู้วิธีการเลือกบุคลากรมาร่วมงาน เจ้าของกิจการควรคัดเลือกและจัด

บุคลากรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โดยเมื่อสังเกตเห็นว่าผู้ร่วมงานคนใดมีความ

ถนัดหรือชำนาญทางด้านใดก็จัดสรร ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ และควรมี

การฝึกอบรมก่อนปฏิบัติงานจริง เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน นอกจากนี้

เจ้าของกิจการควรหาวิธีจูงใจให้ผู้ร่วมงานมีกำลังใจในการปฏิบัติ งานเพื่อให้ได้

ผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
          
  10. เลือกทำเลที่ตั้งกิจการได้เหมาะสม โดยพิจารณาจากชนิดหรือลักษณะ

ของสินค้าหรือการบริกาและกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักการมากกว่าความสะดวกสบาย

ส่วนตัวของเจ้าของกิจการ และควรเป็นสถานที่จอแจ คือ มีทั้งคนเดินถนนและรถ

อยู่ในย่านธุรกิจ และมีสถานที่จอดรถ นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงค่าเช่าสถานที่ มี

บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีความสะดวกในการขนส่ง

สินค้าและบริการ ตลอดจนเป็นไปตามเขตพื้นที่ที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อการขยาย

ธุรกิจในอนาคต







ขอขอบพระคุณ

คุณครูดรุณี  กันธมาลา


และบทความ จาก


http://school.obec.go.th/wichienmatu2/doc/business.htm

 



 

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

พัชรวดี ศรีสังข์
 ขอบใจมากนะ ได้ความรู้เยอะมากมายจ้ะ :)
 
พัชรวดี ศรีสังข์ [110.77.205.xxx] เมื่อ 8/06/2012 18:23
2
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 6/04/2019 22:43
3
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 6/04/2019 22:44
4
อ้างอิง

Sue
| commercial real estate>Featured Links Collection | commercial real estate>New Jersey Business For Sale Diego Commercial Real Estate Brokers Arizona | commercial real estate>California Commercial Office | commercial real estate>Commercial Real Estate For | commercial real estate>Available Commercial Real | commercial real estate>California Commercial | commercial real estate>Commercial Real Estate Commercial Real Estate Broker | commercial real estate>Motel For Sale | commercial real estate>Commercial Property For | commercial real estate>Office Broker | commercial real estate>Commercial Real | commercial real estate>Commercial Jersey New Realtor | commercial real estate>Westborough Office Park | commercial real estate>Featured Links Collection | commercial real estate>Missouri Research Park | commercial real estate>Hotel And Motels For Sale | commercial real estate>Miami Lakes Office Space
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 6/04/2019 22:45
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :